KUBET – หมอเตือนระวังแหล่งเชื้อก่อมะเร็งกระเพาะ ที่มีเกือบทุกบ้าน จุดนี้ควรเช็ก-ดูแลยังไง

           หมอเตือนระวังแหล่งเชื้อก่อมะเร็งกระเพาะ ที่มีเกือบทุกบ้าน หลายคนไม่รู้ แนะวิธีดูแล-หมั่นตรวจเช็ก แค่ไม่พลาดจุดเล็ก ๆ ก็ลดความเสี่ยงได้แล้ว



มะเร็งกระเพาะ

           วันที่ 28 เมษายน 2568 นพ.เจษฎ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา โพสต์เฟซบุ๊ก หมอเจด ให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ เตือนระวังแหล่งเชื้อก่อ “มะเร็งกระเพาะ” ที่มีเกือบทุกบ้าน ซึ่งนั่นก็คือ “ตู้เย็น” ที่หลาย ๆ คนไม่รู้ว่าอาจกลายเป็นแหล่งของเชื้อ Helicobacter pylori (H. pylori) ซึ่งเกี่ยวข้องกับโรคกระเพาะอาหาร ไปจนถึงมะเร็งกระเพาะ

           แล้วเชื้อตัวนี้เกี่ยวอะไรกับตู้เย็น เราควรจะดูแลยังไงให้ห่างไกลจากเชื้อ H. pylori

1. รู้จักเจ้า H. pylori กันก่อน

           H. pylori นี่เป็นแบคทีเรียรูปร่างเกลียว ๆ เล็ก ๆ ที่สามารถอาศัยอยู่ในกระเพาะอาหารของเราได้แบบสบาย ๆ ทั้งที่มีกรดในกระเพาะ แต่มันก็ยังอยู่รอด แถมยังเจาะผนังกระเพาะเข้าไปอาศัยได้อีกต่างหาก

           และบางที เราก็ติดเชื้อ H. pylori โดยไม่รู้ตัว เพราะส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีอาการ แต่ถ้าเมื่อไหร่มันแสดงอาการขึ้นมา ก็จะเป็นแบบที่เราไม่อยากเจอ เช่น แสบท้อง กรดไหลย้อน เรอเปรี้ยว หรือในเคสหนัก ๆ ก็กลายเป็นแผลในกระเพาะ หรือมะเร็งกระเพาะได้เลย

2. แล้วมันมาอยู่ในตู้เย็นได้ไง ?

           หลายคนอาจสงสัยว่า ตู้เย็นมันเย็นจะตาย เชื้อจะอยู่รอดเหรอ ? คำตอบคือ มันอยู่ได้ แค่ไม่โต แต่ก็ยังไม่ตาย เชื้อ H. pylori มีความสามารถในการอยู่ในโหมด “นอนหลับ” ที่เรียกว่า VBNC (viable but non-culturable) คือเหมือนสลบไปชั่วคราว แต่ยังมีชีวิตอยู่ และพอร่ายกายเรารับเข้าไป ผ่านการกิน มันก็ตื่นกลับมาทำงานได้เหมือนเดิม

พฤติกรรมในตู้เย็นที่อาจช่วยให้เชื้อหลุดรอดเข้ามาได้ เช่น

           – วางอาหารดิบใกล้อาหารสุก
           – ของหมดอายุแต่ยังเก็บไว้
           – น้ำดื่มหรือน้ำล้างผักที่ไม่ได้ต้ม
           – ของกินอุ่นไม่ทั่วหลังแช่เย็น

พื้นที่โปรดของเชื้อในตู้เย็นอยู่ตรงไหนบ้าง ?

           แม้ว่าเชื้อจะไม่โตในที่เย็น แต่มันก็มี “จุดโปรด” ในตู้เย็นที่แอบอยู่ได้เรื่อย ๆ และรอจังหวะเข้าสู่ร่างกายเรา ซึ่งก็คือ

           – ชั้นล่างสุด โดยเฉพาะถาดรองน้ำหยด หรือบริเวณที่มีน้ำจากของดิบหยดลงมา ถ้าลืมล้าง เชื้ออยู่ได้เลย

           – ช่องเก็บผัก/ผลไม้ ความชื้นสูง เหมาะกับการอยู่นิ่ง ๆ ของเชื้อ โดยเฉพาะถ้าผักแค่ล้างผ่าน ๆ แล้วแช่เลย

           – มือจับตู้เย็น หรือปุ่มช่องฟรีซ ใช้กันทุกวันแต่ไม่ค่อยมีใครล้าง เชื้อที่ติดมากับมืออาจอยู่ตรงนี้ได้ง่ายมาก

           – กล่องเก็บอาหารซ้ำ ๆ กล่องที่ใส่อาหารค้างหลายวันแล้วเอามาใช้ใหม่โดยไม่ล้างดี ๆ ก็เป็นแหล่งสะสมเชื้อได้

           – ขอบยางประตูตู้เย็น ชื้นบ่อย ๆ แถมคนไม่ค่อยสังเกต เลยกลายเป็นที่เก็บคราบและแบคทีเรีย

แล้วช่องฟรีซล่ะ ? เย็นขนาดนั้นไม่น่ารอดนะ ?

           อันนี้ก็เข้าใจได้ เพราะหลายคนคิดว่า ช่องฟรีซ = ปลอดเชื้อ แต่อันที่จริงมันไม่ใช่แบบนั้น เชื้ออย่าง H. pylori หรือแบคทีเรียบางชนิด แม้จะแช่ใน -18°C มันไม่ขยายพันธุ์ก็จริง แต่ก็ “ไม่ตาย” และอยู่ได้เรื่อย ๆ โดยเฉพาะถ้าแช่ของที่มีความชื้น หรือแช่แบบละลาย-แช่ใหม่ วนไป

พฤติกรรมที่ควรระวัง

           – แช่ของดิบใกล้ของสุกในช่องเดียวกัน
           – ละลายน้ำแข็งแล้วเอาแช่ใหม่
           – ไม่ใช้กล่องปิดสนิท

3. วงจรการแพร่เชื้อ

           จริง ๆ แล้วเชื้อ H. pylori สามารถแพร่เชื้อผ่านทางอาหาร น้ำดื่ม และเครื่องใช้ในครัวได้

           – น้ำจากของดิบหยดลงของสุกในตู้เย็น
           – ใช้มีดหรือเขียงเดียวกันหั่นของดิบกับของกินเล่น
           – กล่องใส่อาหารไม่เคยล้าง แค่เอามาใส่อาหารใหม่ซ้ำ ๆ

           สิ่งเหล่านี้อาจฟังดูเล็กน้อย
แต่จริง ๆ แล้วเชื้อสามารถส่งผ่านได้
โดยเฉพาะบ้านที่มีหลายคนใช้ตู้เย็นร่วมกัน ยิ่งถ้ามีเด็กหรือผู้สูงอายุ
ก็ยิ่งต้องระวังเป็นพิเศษ

4. วิธีเช็กและดูแลตู้เย็นให้ปลอดภัยจากเชื้อ

วิธีเช็กเบื้องต้น

           – มีอาหารค้างมาหลายวันไหม ?
           – อาหารดิบกับสุกแยกกันรึยัง ?
           – มีน้ำขังหรือคราบอะไรอยู่มั้ย ?
           – ล้างตู้เย็นล่าสุดเมื่อไหร่ ?

แล้วลองทำตามนี้ดู

           – แยกของดิบกับสุกให้ชัดเจน และใช้กล่องปิดมิดชิด
           – ใช้กล่องแยกประเภทอาหาร ไม่ใช้กล่องเดิมซ้ำหลายครั้ง
           – ล้างตู้เย็นเดือนละครั้งก็ยังดี
           – เช็กวันหมดอายุเสมอ ทิ้งของที่มีกลิ่น สี หรือเนื้อแปลก ๆ

5. เรื่องเล็กที่ไม่เล็กเลย ถ้าพลาดไป

           ถึง
H. pylori จะดูเป็นแค่แบคทีเรียธรรมดา
แต่มันสามารถอยู่ในร่างกายเราได้นานหลายปี
และทำให้เกิดโรคเรื้อรังได้แบบไม่รู้ตัว หลายคนมีอาการแสบท้องบ่อย ๆ
แต่ไม่คิดว่าอาจเกิดจากเชื้อนี้ จนวันหนึ่งเริ่มมีแผลในกระเพาะ
หรือโรคที่ต้องรักษากันยาว เพราะฉะนั้น ถ้าเริ่มดูแลได้จาก “ตู้เย็น”
ซึ่งเป็นจุดเริ่มของอาหารในบ้าน ก็ช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อ
และลดความเสี่ยงมะเร็ง

           สุดท้ายนี้ แค่เริ่มจากดูแลตู้เย็น
ก็เหมือนดูแลสุขภาพเราได้เยอะเลย อยากให้หมั่นสังเกต หมั่นจัดการ
และไม่มองข้ามจุดเล็ก ๆ พวกนี้ เชื้ออย่าง H. pylori
ก็ไม่มีทางได้โอกาสอยู่กับเรานานแน่นอน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *