ชายปลูกถ่ายไต ไม่ถึง 3 เดือนต้องเข้าไอซียู ช็อกต้นเหตุจาก “ของแถม” ที่มากับไตบริจาค ชี้ไม่ใช่แค่เคสเดียว ผู้ป่วยที่ได้ไตอีกข้างก็หวิดดับ

ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
วันที่ 1 กรกฎาคม 2568 เว็บไซต์ livescience รายงานกรณีสุดช็อกของชายคนหนึ่งในสหรัฐฯ ที่เกือบเสียชีวิตหลังได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายไต ไม่ใช่เพราะการผ่าตัดเกิดปัญหาหรือร่างกายปฏิเสธอวัยวะใหม่ แต่เป็นเพราะ “ของแถม” ที่ติดมากับอวัยวะที่ได้รับบริจาค ทำให้เขาถูกส่งเข้าไอซียูในช่วงเวลา 10 สัปดาห์ต่อมา
ตามรายงานที่ได้รับการเผยแพร่ผ่านวารสาร New England Journal of Medicine เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน เปิดเผยว่า ผู้ป่วยชายวัย 61 ปี ได้รับการปลูกถ่ายไตที่โรงพยาบาลทั่วไปแมสซาชูเซตส์ (MassGen) ในสหรัฐฯ ก่อนที่ใน 10 สัปดาห์ต่อมา เขาจะถูกส่งตัวกลับมาเข้าแผนกไอซียูของทางโรงพยาบาลอีกครั้ง

ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
ปรากฏว่าผู้ป่วยมีอาการผิดปกติเช่น คลื่นไส้ อาเจียน
กระหายน้ำมาก ปวดท้อง ปวดหลัง และมีไข้ จึงแอตมิตเข้าโรงพยาบาลอีกแห่ง
ซึ่งแพทย์พบว่าเขามีของเหลวสะสมในปอด อีกทั้งเขายังเริ่มหายใจเร็ว
ระดับออกซิเจนลดลง จนเมื่อเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวและช็อก
ทางโรงพยาบาลดังกล่าวจึงส่งตัวผู้ป่วยกลับมายังแผนกไอซียูของ MassGen
ทีมแพทย์พบว่าผู้ป่วยมีผื่นสีม่วง ลักษณะคล้ายรอยช้ำเป็นกลุ่ม ๆ
แพร่กระจายทั่วบริเวณหน้าท้อง
จากนั้นก็เริ่มตรวจสอบประวัติการรักษาของผู้ป่วย
รวมถึงเก็บตัวอย่างมาตรวจสอบเพื่อหาสาเหตุของอาการเหล่านั้น
ซึ่งนับเป็นความท้าทายอย่างมาก
เนื่องจากผู้ป่วยต้องใช้ยากดภูมิเพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายปฏิเสธอวัยวะใหม่
ทำให้เขาติดเชื้อได้ง่าย
อย่างไรก็ตาม
หลังการตรวจสอบและตัดความน่าจะเป็นหลายอย่าง ดร.คามิล คอตตัน
ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อและการปลูกถ่ายอวัยวะ
พบว่าในเลือดของผู้ป่วยมีระดับเซลล์เม็ดเลือดขาว eosinophils เพิ่มขึ้นสูง
ซึ่งเซลล์เม็ดเลือดขาวดังกล่าวมักมีบทบาทในการต่อสู้กับพยาธิ
แม้อาจจะมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เม็ดเลือดขาวเพิ่มสูงได้เช่นกัน
แต่สาเหตุเหล่านั้นไม่น่าจะเป็นไปได้ในเคสของผู้ป่วยรายนี้
ดร.คอตตัน เปิดเผยว่า
เธอเคยได้ยินว่ามีเคสที่ผู้ป่วยได้รับพยาธิมาจากอวัยวะที่ทำการปลูกถ่าย
จึงติดต่อไปหา New England Donor Services
ซึ่งเป็นองค์กรจัดหาอวัยวะระดับภูมิภาค
เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับการปนเปื้อนที่เป็นไปได้
จากนั้นทางองค์กรได้นำเลือดของผู้บริจาคที่เสียชีวิตมาตรวจสอบ
ก็พบหลักฐานยืนยันว่าระบบภูมิคุ้มกันของผู้บริจาค
เคยเจอกับพยาธิเส้นด้ายมาก่อน
ทั้งนี้
จากการตรวจเลือดผู้ป่วย
บ่งชี้ว่าเขาไม่น่าจะมีพยาธิเส้นด้ายก่อนการปลูกถ่ายอวัยวะ
และเมื่อแพทย์เก็บตัวอย่างจากร่างกายเขามาตรวจเพิ่มเติม
ก็พบว่าพยาธิกระจายไปทั่วร่างกายของเขาแล้ว ทั้งช่องท้อง ปอด และผิวหนัง
ทีมแพทย์จึงรีบให้ยาไอเวอร์เมคติน (Ivermectin) ซึ่งเป็นยาต้านปรสิต
โดยได้รับอนุญาตเป็นกรณีพิเศษให้ฉีดเข้าใต้ผิวหนังของผู้ป่วย
กระทั่งในที่สุดก็สามารถรักษาผู้ป่วยได้จนหาย
อนึ่ง
การติดเชื้อจากการปลูกถ่ายอวัยวะนั้นเกิดขึ้นได้ยากมาก โดยพบว่าในช่วง 10
ปีที่ผ่านมาในสหรัฐฯ พบเคสการติดเชื้อจากผู้บริจาคเพียง 14 ราย
จากการปลูกถ่ายอวัยวะทุก ๆ 10,000 ครั้ง
โดยแม้ว่าอวัยวะที่จะถูกนำมาบริจาคจะถูกตรวจหาโรคติดเชื้อแล้ว
แต่การตรวจเหล่านั้นไม่อาจตรวจจับได้ทุกอย่างเสมอไป
นอกจากเคสของผู้ป่วยชายวัย 61 ปี ข้างต้น ยังพบผู้ป่วยชายวัย 66 ปี
ที่ได้รับบริจาคไตอีกข้างจากผู้บริจาครายเดียวกัน
ติดพยาธิจากอวัยวะที่ถูกปลูกถ่ายด้วย
โดยชายคนดังกล่าวเข้ารักษาตัวที่ศูนย์การแพทย์อัลบานี
เนื่องจากมีอาการเหนื่อยล้า เซลล์เม็ดเลือดแดงต่ำ และการทำงานของไตแย่ลง
หลังการปลูกถ่ายอวัยวะ ดังนั้นเมื่อทางศูนย์การแพทย์ฯ
ได้รับแจ้งเตือนเคสดังกล่าว จึงสามารถให้การรักษาผู้ป่วยได้สำเร็จ
โดยอาศัยข้อมูลที่ได้รับการแชร์จาก MassGen
ขอบคุณข้อมูลจาก livescience